สื่อในประเทศเมียนมา ออกมารายงานว่า ดอน รัฐมนตรีต่างประเทศไทย เข้าพบ มินอ่องหล่าย พร้อมด้วยรัฐมนตรี ตปท. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน สำนักข่าว Myanmar Now รายงานว่า นาย ดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางเข้าพบนาย วันนะ หม่อง ลวิน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของรัฐบาลเมียนมา ก่อนจะพบ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย นายกรัฐมนตรีเมียนมา
อย่างไรก็ตามยังไม่มีใครทราบว่าการเข้าพบครั้งนี้เป็นหารือเรื่องอะไร
ซึ่งในช่วงเย็นของวันเดียวกัน นาย ดอน ได้เข้าร่วมพิธีบริจาควัคซีนโควิดที่ไทยเป็นผู้บริจาคให้ทางการเมียนมา สนามบินที่กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงเมียนมา นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่คนจากรัฐบาลไทยพบกับตัวแทนจากรัฐบาลเมียนมา หลังจากที่กองทัพได้ก่อรัฐประหารขึ้นในช่วงเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา โดยในช่วงเดือนเดียวกัน รมว.ต่างประเทศเมียนมา ชี้แจงสถานการณ์ภายในประเทศเมียนมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการเมืองและเหตุการณ์ประท้วงของชาวเมียนมา ทั้งในเมียนมาและอีกหลายประเทศ ซึ่งทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนวิตกกังวล โดยใช้เวลาในการพูดคุยประมาณ 1 ชั่วโมง จิรสันต์ กองบัญชาการตำรวจนครบาล หรือ บช.น. ยืนยันว่าไม่มีการใช้ กระสุนจริง ใน #ม็อบ14พฤศจิกา64 เร่งประสานโรงพยาบาลจุฬาฯเพื่อตรวจสอบต่อไป
พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รองกองบัญชาการตำรวจนครบาล หรือ บช.น. และในฐานะโฆษก บช.น. ได้ออกมากล่าวถึงเหตุความรุนแรงในการชุมนุม 14 พฤศจิกายน และมีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บสามรายว่า รพ.ตำรวจอยู่ระหว่างประสานรพ.จุฬาฯ อยู่ในขณะนี้ ส่วนเป็นไปได้หรือไม่ว่าเกิดจากกระสุนยางนั้น สถานการณ์ที่เกิดระเบิดขึ้นก่อน แล้วมีการใช้กระสุนยาง ต้องพิสูจน์ทราบว่าสาเหตุเกิดจากสาเหตุใด
ในประเด็น การใช้กระสุนยางยืนยันการใช้ ไม่มีการใช้กระสุนจริง ส่วนระยะยิงขนาดไหน ต้องรอผลตรวจพิสูจน์ ระยะยิงปกติมีระยะการยิงไม่ต่ำกว่า 8-15 เมตร แต่อยู่ระหว่างตรวจสอบว่าอยู่ในระยะใกล้หรือไกลกว่านั้น ส่วนภาพที่กลุ่มผู้ชุมนุมหมอบนั้น อยู่ระหว่างตรวจสอบว่า ทำเพราะเหตุผลใด
นอกจากนี้ทางเจ้าหน้าที่สั่งการให้ บช.น.รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ทราบการกระทำผิดอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือน ก.ค. 63 ที่ผ่านมา ดำเนินคดีทั้งหมด 783 คดี สอบสวนสั่งฟ้อง 385 คดี คงเหลือคดี 398 คดี
‘อรุณี’ ซัด รบ. ต้องกล้าลงทุนกับการศึกษา หลัง ดราม่าครูลาออก
‘อรุณี’ ซัด การศึกษาไทยบิดเบี้ยวเป็นต้นเหตุ ดราม่าครูลาออก ย้ำรัฐบาลต้องกล้าลงทุนกับการศึกษา เหมือนกล้าลงทุนกับรถถังและเรือดำน้ำ เว็บไซต์ของพรรคเพื่อไทย ได้เผยแพร่แถลงการจาก ดร.อรุณี กาสยานนท์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย จากกรณีที่มีครูลาออกจากราชการ ทั้งจากปัญหารเรื่องเอกสารประเมินและปัญหารในการสอนออนไลน์ จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดย ดร.อรุณี กล่าวว่า ขณะนี้ระบบการศึกษาไทยกำลังผุพังล้มเหลว จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบหลายด้าน แต่ที่จะสร้างผลกระทบระยะยาวต่อองค์รวมของประเทศคือโครงสร้างการศึกษาที่บิดเบี้ยว สะท้อนได้จากการที่เด็กและเยาวชนยังคงหลุดออกจากระบบการศึกษา และครูที่ตัดสินใจลาออกจากราชการเพราะเน้นคุณค่าการทำประเมินผลงานเลื่อนวิทยาฐานะสำคัญกว่าการสอนเด็กนักเรียน นอกจากจะสร้างความกดดันให้ครูแล้วยังเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการเลื่อนระดับวิทยาฐานะด้วย
หากรัฐกล้าทุ่มงบประมาณแผ่นดินไปกับความมั่นคงทั้งการจ้างนายพล ไปจนถึงพลทหาร กล้าจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ กล้าลงทุนซื้อเรือดำน้ำได้ ก็ต้องกล้าที่จะลงทุนกับการศึกษาได้โดย
1.จ้างครูในอัตราเงินเดือนที่เหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่กันดารห่างไกลที่รองรับเด็กด้อยโอกาสเพื่อไม่ให้เด็กหลุดจากรับบการศึกษา
2.ปฏิรูประบบงบประมาณจัดสรรตามความจำเป็นและพื้นที่ซึ่งมีค่าครองชีพไม่เท่ากัน รวมทั้งต้องสอดคล้องกับขนาดโรงเรียน เพราะงบประมาณรายหัวไม่ตอบโจทย์ ให้เน้นความจำเป็นของนักเรียน และความแตกต่างของพื้นที่ซึ่งมีค่าครองชีพไม่เท่ากัน รวมทั้งต้องสอดคล้องกับขนาดโรงเรียน
3.ปรับเปลี่ยน ยกระดับการเรียนการสอน ครูควรเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ (Facilitator) เปิดพื้นที่การเรียนรู้ ไม่ใช่ครูที่ทำแบบประเมินและสอนให้ท่องจำ (Teach) โลกยุคใหม่ความรู้หาได้ง่ายเร็วและแม่นยำ กระทรวงศึกษาธิการต้องเป็นหน่วยงานที่ปลดล็อกรื้อถอนรากปัญหาทั้งระบบ เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษาของไทย ให้เด็กและเยาวชนเติบโตไปเป็นพลเมืองของโลกได้
ดร.อรุณี กล่าวอีกว่า สำหรับ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่มีถึง 110 มาตรา ล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยการจัดตั้งหน่วยงาน องค์กร และคณะกรรมการที่เป็นครอบปิดอิสระในการสอนของบุคลากรให้ผูกติดกับโครงสร้างขององค์กรใหม่จำนวนมาก ที่จะเข้ามากำกับดูแลในพื้นที่ระดับตำบลและอำเภอ แต่ไม่มีการกล่าวถึงสิ่งที่เด็กและครูผู้สอนจะได้ประโยชน์ภายใต้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้
ดังนั้นจึงอยากให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่ “การศึกษาคือการลงทุน” ด้วยการเปิดพื้นที่ให้บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง เข้ามามีส่วนร่วมกับการกำหนดยุทธศาสตร์การเรียนการสอน เช่นเดียวกับที่สิงคโปร์ ที่ใช้แนวคิดนี้จนสามารถเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาให้กลายเป็นต้นแบบในหลายประเทศ
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง